วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หน่วยเงินตราประเทศไทย

เริ่มจากเมื่อวานดูละครช่อง 3 เรื่องทาสรัก

เป็นฉากการประมูลตัวนางทาส(องค์หญิง ถูกคนเข้าใจผิด)
แล้วมีการประมูล 1 ตำลึง 2 ตำลึง จนกระทั่งมีคนประมูล 1 ชั่ง แล้วตามด้วย 10 ชั่ง
ผมก็นั่งคิดหาคำตอบซึ่งจำได้ว่า 4 บาทเป็น 1 ตำลึง แต่กี่ตำลึงเป็น 1 ชั่ง อันนี้จำไม่ได้เลยค้นหา
ข้อมูลใน google และแล้วก็ได้คำตอบ จึงโพสต์ไว้เป็นคลังข้อมูลส่วนตัว เอาไว้ดูเวลาต้องการ

ถ้าใครเข้ามาเจอข้อมูลก็ตามสะดวกในการนำข้อมูลไปใช้ครับ

50 เบี้ย เป็น 1 โสฬส
2 โสฬส เป็น 1 อัฐ
2 อัฐ เป็น 1 เสี้ยวหรือไพ
4 อัฐ เป็น 1 เฟื้อง
2 เฟื้องเป็น 1 สลึง


4 สลึง เป็น 1 บาท


4 บาท เป็น 1 ตำลึง


20 ตำลึง เป็น 1 ชั่ง


80 ชั่งเป็น 1 หาบ






ข้อมูลจาก http://www.panyathai.or.th/


วันนี้ที่เขียน blog พบปัญหาว่าไม่สามารถก้อปปี้วางได้ เลขต้องพิมพ์ใหม่ ซึ่งรายละเอียดที่ผมสรุปใหม่ผมว่าเข้าใจง่ายกว่าที่เว็บ ปัญญาไทยเขียน


ซึ่ง blog ของผม ก็คงจะต้องปรับปรุงให้เหมาะกับตัวเองครับ




จุดเปลี่ยนของการเรียกสกุลเงินเก่าๆ มาเป็น บาท กับสตางค์ในปัจจุบัน เกิดในพ.ศ. 2441 สมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณและการจัดทำบัญชี







ต้องแก้ไขใน html เอง ถึงจะก้อปปี้วางได้

มาตราชั่งตวงวัดที่ควรทราบ
เอามาจากเว็บ www.pharmanet.co.th

1. หน่วยวัดปริมาตรโดยประมาณ เทียบจากการชั่งตวงสิ่งของจากภาชนะที่ใช้ตามบ้าน
1 ช้อนชา = 5 มิลลิลิตร
1 ช้อนแกง = 10 มิลลิลิตร
1 ช้อนโต๊ะ = 15 มิลลิลิตร
1 ถ้วยกาแฟ = 120 มิลลิลิตร
1 ถ้วยน้ำขนาดใหญ่ทรงสูง = 300 มิลลิลิตร
1 แก้วน้ำขนาดธรรมดา = 250 มิลลิลิตร
1 กระป๋องนมข้น = 300 มิลลิลิตร
1 ขวดแฟนต้า หรือแม่โขงขวดแบน = 370 มิลลิลิตร
1 ขวดน้ำปลา หรือแม่โขงขวดกลม = 750 มิลลิลิตร (เต็มระดับปากขวด)
1 ขวดน้ำปลา หรือแม่โขงขวดกลม = 725 มิลลิลิตร (เต็มระดับคอขวด)
2. หน่วยมาตรฐานสากล
1,000 มิลลิลิตร = 1 ลิตร
1,000 มิลลิลิตร = 1 ควอร์ต
4 ควอร์ต ( 4 ลิตร ) = 1 แกลลอน
30 มิลลิลิตร = 1 ออนซ์
3. หน่วยน้ำหนักสากล
1 กิโลกรัม ( ก.ก. ) = 1,000 กรัม
1 กรัม ( ก. ) = 1,000 มิลลิกรัม
1 มิลลิกรัม ( มก. ) = 1,000 ไมโครกรัม
1 ขีด = 100 กรัม
30 กรัม = 1 ออนซ์
1 กรัม = 15 เกรน
1 ปอนด์ = 16 ออนซ์
1 ออนซ์ = 480 เกรน
1 เกรน = 60 มิลลิกรัม

อ่านแล้วขำเหมือนกันวัดกระป๋องนมข้น ขวดแม่โขงด้วย

1 ความคิดเห็น: